วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

         ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือรวมทั้งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันทุกองค์การต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลผลประโยชน์ของผู้ที่นำข้อมูลมานำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทางคณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( National Information Technology Committee : NITC ) เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Law ) จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นบังคับทั้งหมด 6 ฉบับ ได้แก่
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือทางอิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6. กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78





 1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Transactions Law)เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์ รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
      2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law )เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
      3. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
       4. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
        5. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
       6. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน(National Information Infrastructure Law)เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันและนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้




ความปลอดภัยของข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. การให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์
การใช้งานระบบเครือขายผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย พร้อมทั้งการดูแลความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน รวมทั้งให้ผู้ใช้งานคำนึงถึงความสำคัญของข้อมูลสามารถป้องกันข้อมูลเบื้องต้นได้ วิธีการป้องกันข้อมูลในขั้นต้นที่พนักงานทุกคนควรทราบได้แก่
1 ) การเก็บรหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ผู้อื่นทราบ หรือจดไว้ในที่เปิดเผย
2 ) ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นใช้เครื่องที่ตนใช้ประจำ ตั้งระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆการใช้รหัสผ่านในการทำงาน
3 ) ขยันเปลี่ยนรหัสผ่านของตนเองบ่อยๆเพื่อป้องกันผู้อื่นจดจำรหัสผ่านในขณะที่พิมพ์รหัส
4 ) การสังเกตอาการแปลกๆที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นสัญญาณของไวรัส เช่น การทำงานช้าลงของเครื่องคอมพิวเตอร์ การมีข้อความแปลกๆเกิดขึ้น การทำงานไม่เป็นปกติ
5 ) ให้ความรู้เกี่ยวกับการกู้ข้อมูลคืน หากข้อมูลมีความเสียหายเกิดขึ้น
6 ) มีการปรับปรุงโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ เช่นโปรแกรมตรวจไวรัส โปรแกรมตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ เป็นต้น
2. การรักษาควาปลอดภัยของผู้ดูแลระบบ
ผู้ดูแลระบบควรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันเป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นบุคคลที่สำคัญในการป้องกันความปลอดภัย ข้อควรระวังเบื้องต้นของผู้ดูแลระบบ ได้แก่
1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับลำดับความสำคัญของผู้ใช้ระบบ เพื่อที่จะกำหนดสิทธิ์ของการเข้าใช้งานได้
2. ไม่สมควนให้มีการอนุญาตผู้ใช้มากเกินไปอาจจะเป็นเหตุของเจาะระบบได้
3. การยกเลิกสิทธิ์ของผู้เข้าใช้ ควรทำการลบล้างสิทธิ์ออกจากโปรแกรมตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นขโมยสิทธิ์เข้าใช้ระบบ
3. การกำหนดสิทธิ์ของการเข้าใช้ระบบ
การกำหนดสิทธิ์ของการเข้าใช้งานระบบ เราสามารถกำหนดสิทธิ์ของบุคคลในแต่ละระดับเพื่อเข้าใช้งานระบบ โดยมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้งานดังนี้
1 ) รหัสผ่าน ( Password ) หมายถึง การกำหนดรหัสผ่านอาจจะอยู่ในรูปตัวเลขหรือตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ที่ต้องพิมพ์เพื่อให้ระบบตรวจสอบว่าเหมือนกับค่าที่เคยตั้งไว้หรือไม่ว่า
- ควรมีจำนวนหลักของข้อความไม่ต่ำกว่า 8 ตัว หากโปรแกรมหรือระบบนั้นสามารถรองรับได้
- ควรมีทั้งตัวอักษรและตัวเลข
- ไม่ควรเป็นคำ หรือข้อความใดข้อความหนึ่งหรือชื่อคน สัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของที่ใกล้ตัว ควรเป็นข้อความที่ไม่มีความหมาย
- ไม่ควรใช้ฟังก์ชันช่วยจำ User name และ Password ของเว็บไซต์หรือโปรแกรมใดๆเพราะอาจเป็นสาเหตุให้ถูกขโมยได้ง่าย
2 ) วัตถุในการตรวจสอบ ( Possessed Objects ) คือ สิ่งของที่ผู้ใช้สามารถพกพาติดตัวไปเพื่อใช้ในการตรวจสอบ เช่น บัตรผ่าน อาจใช้ร่วมกับรหัสผ่านได้
3 ) การตรวจสอบทางชีวภาพ ( Biometric Device ) คือ การตรวจสอบลักษณะทางชีวภาพว่าตรงกับลักษณะทางชีวภาพที่บันทึกไว้หรือไม่ เช่นม่านตา เป็นต้น
4. การตรวจสอบการเข้าใช้ด้วยระบบฮาร์แวร์
โดยป้องกันการเข้ามาในระบบผ่านช่องหรือ Port ต่างๆ ได้แก่ Fire Wall ซึ่งก็คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบหรือปิดกั้นกันการเชื่อมต่อของข้อมูลจากภายนอกเครือข่ายกับภายในเครือข่าย ซึ่งจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น ซึ่งในการรักษาความปลอดภัยสูง Firewall มี 3 ชนิดคือ
1 ) Screening Routers คือ อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบข้อมูลนั้นถูกส่งมาจากที่ใด และได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องหรือไม่ การตรวจสอบนั้นสามารถทำได้โดยการดู Address ที่มีมากับข้อมูล
2 ) Proxy Gateway คือ ตรวจสอบข้อมูลทั้ง Address และตัวข้อมูล ( Data ) ซึ่งให้ความปลอดภัยสูงกว่า Screening Routers โดยจะอนุญาตให้ข้อมูลหรือชุดคำสั่งที่ได้รับจากระบบเครือข่ายสามารถทำงานได้ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
3 ) Guard คือ Proxy Firewall ซึ่งมีความสามารถในการักษาความปลอดภัยสูง ทำหน้าที่วิเคราะห์ Protocol ที่ผ่านเข้ามาหรือออกจากเครือข่าย แล้วสั่งงานตามที่ Protocol ตัวนั้นต้องการ

5. การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
โปรแกรมป้องกันไวรัสเป็นตัวค้นหาและกำจัดไวรัสออกจากหน่วยความจำและอุปกรณ์เก็บข้อมูล การทำงานของโปรแกรมป้องกันไวรัสคือ
1 ) การค้นหาสัญญาณของไวรัสเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่จัดเก็บไว้ ซึ่งผู้ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพราะมีไวรัสใหม่เกิดขึ้นทุกวัน โปรแกรมป้องกันไวรัสประเภทนี้จะค้นหาไวรัสประเภท Polymorphic virus ได้ยาก เพราะไวรัสประเภทนี้สามารถเปลี่ยนรูปแบบของตนเองไปตามโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูล
2 ) การตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแฟ้มข้อมูล โปรแกรมจะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลของแฟ้ม เช่น ขนาดของแฟ้มข้อมูล วันที่แฟ้มข้อมูลถูกสร้างหรือแก้ไข จากนั้นจะใช้ข้อมูลนี้ในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของแฟ้มข้อมูลในการเปิดใช้ครั้งต่อไป หากมีการเปลี่ยนแปลงแจหมายถึงสัญญาณไวรัส แต่จะมีไวรัสบางชนิดที่เรียกว่า Stealth virus สามารถที่จะรายงานขนาดและวันเวลาเดิมของไฟล์เพื่อหลบเลี่ยงการถูกตรวจในจับได้
3 ) การแยกแฟ้มข้อมูลที่ต้องสงสัยไว้ต่างหาก โปรแกรมค้นหาไวรัสบางประเภทสามารถแยกแฟ้มข้อมูลที่สงสัยว่าติดไวรัสไวต่างหากเพื่อป้องกันการแพร่ของไวรัสได้ เมื่อผู้ใช้ทำการตรวจสอบหรือกำจัดไวรัสออกไปแล้วจะสามารถใช้แฟ้มข้อมูลเหล่านั้นได้อีกครั้ง
4 ) การสร้าง Rescue Disk หรือแผ่นดิสก์ที่สะอาดปลอดภัย ในการทำงานควรมีการสร้างแผ่นดิสก์ที่ปลอดภัยจากไวรัสประเภท Boot Sector virus และสามารถค้นหา ซ่อมแซม แฟ้มข้อมูลที่เสียหายจากไวรัสได้
6. การตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครือข่าย
เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยระบบต่างๆเช่น
1 Kerboros เป็นระบบที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องในการเชื่อมต่อกันของระบบเครือข่าย โดยการตรวจสอบความถูกต้องระหว่าง Processor ที่ทำการติดต่อสื่อสารระหว่างหันโดยมีระบบบัตรผ่าน ซึ่งมีอายุเป็นกำหนดเวลาที่แน่นอน การส่งข้อมูลจะส่งในรูปแบบของการเข้ารหัส


 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

        การกระทำการใดๆที่มีกฎหมายให้รับรองลิขสิทธิ์ ถ้าเป็นงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือสิ้นอายุการควบคุมตามกฎหมายแล้ว การกระทำต่องานนั้นย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะไม่ได้ไปจดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ยังมี
1 ) งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์
2 ) ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
1. งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์
งานที่อาจมีลิขสิทธิ์ มีดังนี้ คือ
1 ) ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างที่มีลักษณะข่าวสาร ซึ่งไม่ใช่งานวรรณคดีหรือวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ
2 ) รัฐธรรมนูญ กฎหมาย
3 ) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
4 ) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของราชการ
5 ) คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม 1) – 4 ) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
2. การกระทำที่ถือเป็นข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์
การกระทำกับงานอันมีลิขสิทธิ์ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีสิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินควร ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการกระทำต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้
1 ) กระทำการเพื่อประโยชน์ในการศึกษามิใช่หากำไร
2 ) กระทำการเพื่อใช้งานส่วนตัว
3 ) กระทำการเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
4 ) กระทำการโดยรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น คัดลอกเลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควร จากงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยการแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น