วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การห้ามเลือด


การห้ามเลือด (Hemostasis)
การห้ามเลือดของร่างกาย เป็นขบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญของร่างกาย เพื่อควบคุมให้เลือดคงสภาพเป็นของเหลวไหลเวียนเป็นปกติอยู่ภายในหลอดเลือด และเปลี่ยนสภาพเป็นลิ่มเลือด ป้องกันการสูญเสียเลือดจากระบบไหลเวียนเลือดเมื่อเกิดการบาดเจ็บของหลอด เลือด โดยจะมีเกล็ดเลือดและไฟบรินมาปกคลุมบริเวณผนังหลอดเลือดที่เกิดการบาดเจ็บ เพื่อให้เลือดหยุดไหลและเริ่มต้นการซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเลือดออก (Hemorrhage) และ / หรือ การเกิดลิ่มเลือด (Thrombosis)
การแข็งตัว ของเลือดเป็นระบบที่มีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือด, ระบบเกล็ดเลือด และการสร้างลิ่มเลือด โดยเมื่อเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือด หลอดเลือดจะหดตัวอย่างรวดเร็วและทันที เพื่อจำกัดจำนวนเลือดไม่ให้สูญเสียออกไป นอกจากนั้นเซลล์เยื่อบุของหลอดเลือด (Endothelial cell) จะสร้างสารที่จำเป็นสำหรับการสร้างลิ่มเลือด และกระตุ้นเกล็ดเลือดให้มาเกาะกลุ่มกันบริเวณบาดแผล เรียกกลไกการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดว่า กลไกห้ามเลือดปฐมภูมิ (Primary Hemostasis) สำหรับกลไกห้ามเลือดทุติยภูมิ (Secondary Hemosatasis)จะ เกิดจากโปรตีนในเลือดที่เรียกว่า Coagulation factor (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ซึ่งผลที่ตามมาคือ ทำให้เกิดลิ่มเลือด และไฟบรินที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกลุ่มของเกล็ดเลือด


  การปฐมพยาบาลเบื้องต้นภาวะเลือดออกภายนอก ให้ห้ามเลือดดังนี้


1.ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดเล็ก ให้ล้างแผล แล้วใช้นิ้วมือที่สะอาดกดลงตรงปากแผล หรือจะใช้แผ่นผ้าสะอาดวางลงบนบาดแผล แล้วกดให้แน่นประมาณ 5-10 นาที จนเลือดหยุดแล้วจึงหยุดกดและใช้ผ้าพันไว้
2.ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดใหญ่ ให้ล้างแผลใช้แผ่นผ้าพับปิดปากแผล แล้วใช้ส้นมือหรือฝ่ามือกดให้แน่นประมาณ 10-15 นาที จนเลือดหยุด แล้วรีบส่งโรงพยาบาล.
ถ้าเลือดไม่หยุดไหล และแผลเกิดที่แขนหรือขา ให้ใช้ส้นมือกดที่หลอดเลือดแดงที่แขนพับ (ดูรูป) หรือที่ขาหนีบ (ดูรูป) จนเลือดพอไหลซึมๆ อย่ากดจนแขนหรือขาซีดหรือเขียว แล้วรีบส่งโรงพยาบาล


การกดแขนพับเพื่อห้ามเลือดที่ไหลออกจากบาดแผลใหญ่ใต้ศอกลงไป





    การกดขาหนีบเพื่อห้ามเลือดที่ขา

1.ถ้าเป็นบาดแผลที่อวัยวะถูกตัดขาด ให้ห้ามเลือดเช่นเดียวกับข้างต้นและนำอวัยวะส่วนที่ถูกตัดขาดใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดและแห้ง (ห้ามล้างอวัยวะที่ถูกตัดขาด) แล้วปิดปากถุงให้แน่น แล้วแช่ถุงนั้นในถุงพลาสติกหรือภาชนะที่ใหญ่กว่าที่มีน้ำผสมน้ำแข็งอยู่ แล้วนำส่งโรงพยาบาลพร้อมผู้ป่วย
2.ถ้าเลือดออกตามไรฟัน หรือเหงือก ให้อมน้ำเย็นหรือน้ำแข็งจนเลือดหยุด/ออกน้อยลง แต่ถ้าเลือดออกตรงที่ฟันหลุด/ถอนฟัน ให้ใช้ก้อนผ้า (ผ้าชิ้นเล็กๆ ม้วนเป็นก้อนกลม) วางลงตรงจุดที่เลือดออกแล้วกัดไว้ให้แน่นประมาณ 10-15 นาทีหรือนานกว่านั้น จนเลือดหยุด.
ถ้าเลือดไม่หยุดไหล หรือไหลออกมาใหม่หลังหยุดไปแล้ว ให้ทำแบบเดิมและไปพบหมอฟัน.
3.ถ้าเลือดออกจากจมูกหรือตกไปหลังคอหอย แล้วขากออกมาเป็นเลือดที่เรียกว่า เลือดกำเดาให้นั่งพัก ก้มศีรษะไปข้างหน้า บีบจมูก (ส่วนที่ไม่ใช่กระดูกแข็ง) ให้แน่นอย่างน้อย 5-10 นาที จนเลือดหยุด ระหว่างนั้นให้หายใจทางปาก ถ้าเลือดตกไปที่คอหอยข้างในให้บ้วนออกมา ถ้ามีน้ำแข็งหรือผ้าเย็นให้ใช้โปะบริเวณจมูก หลัง 5-10 นาที ค่อยคลายมือที่บีบจมูก ถ้ายังมีเลือดออกให้บีบใหม่ 10-15 นาที ถ้ายังมีเลือดออกอีกให้ไปที่โรงพยาบาล

 เลือดกำเดา






         http://www.youtube.com/watch?v=u1PqGw4OCbQ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น