วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด



การปฐมพยาบาล

          หลังถูกงูกัดจะต้องปฐมพยาบาลทันที ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงต้องช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที โดยคำแนะนำการปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูกัด ได้แก่
           1.
ใช้เชือก ผ้า หรือสายยางรัดแขนหรือขา ระหว่างแผลงูกัดกับหัวใจ (เหนือรอยเขี้ยว 2-4 นิ้วฟุต) เพื่อป้องกันมิให้พิษงูถูกดูดซึมเข้าร่างกายโดยเร็ว ให้รัดแน่นพอที่จะหยุดการไหลเวียนของเลือดดำ ควรคลายเชือกทุก ๆ 15 นาที โดยคลายนานครั้งละ 30-60 วินาที จนกว่าจะถึงสถานพยาบาล
           2.
เคลื่อนไหวแขน หรือขาส่วนที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ควรจัดตำแหน่งของส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ระดับต่ำกว่าหัวใจ (เช่น ห้อยเท้า หรือมือส่วนที่ถูกงูกัดลงต่ำ) ระหว่างเดินทางไปสถานพยาบาล อย่าให้ผู้ป่วยเดิน ให้นั่งรถหรือแคร่หาม ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของพิษงู
           3.
ควรดูให้รู้แน่ว่าเป็นงูอะไร แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรบอกให้คนอื่นที่อยู่ในที่เกิดเหตุช่วยตีงูให้ตาย และนำไปยังสถานพยาบาลด้วย (อย่าตีให้เละจนจำลักษณะไม่ได้)
           4.
อย่าให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาดองเหล้า หรือกินยากระตุ้นประสาท รวมทั้งชา กาแฟ
           5.
อย่าใช้ไฟ หรือเหล็กร้อนจี้ที่แผลงูกัด และอย่าใช้มีดกรีดแผลเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เลือดออกมาก
           6.
ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ (จากงูที่มีพิษต่อประสาท) ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจไปตลอดทาง จนกว่าจะถึงสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุด
           7.
สำหรับบาดแผลให้ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดบาดแผล ถ้ารู้สึกปวดแผล ให้กินพาราเซตามอล ห้ามให้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

เกร็ดความรู้

           ช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยถูกงูกัดชุกชุม คือ ฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน)  ผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด พบว่า ถูกงูกะปะกัดมากอันดับหนึ่ง (ภาคใต้) รองลงมาคือ งูเขียวหางไหม้ (ภาคกลาง) และงูเห่า (ภาคกลาง) ตามลำดับ

ความแตกต่างระหว่างงูพิษกับงูไม่มีพิษ

           -งูพิษ มีเขี้ยว 1 คู่ อยู่ตรงขากรรไกรบน เขี้ยวมีลักษณะเป็นรูกลวงคล้ายเข็มฉีดยา มีท่อติดต่อกับต่อมน้ำพิษ เมื่องูพิษกัดคนหรือสัตว์ ต่อมน้ำพิษจะปล่อยพิษไหลมาตามท่อ และออกทางปลายเขี้ยว คนที่ถูกงูพิษกัดจะพบรอยเขี้ยวเป็นจุด 2 จุด ตรงบริเวณที่ถูกกัด
           
-งูไม่มีพิษ จะไม่มีเขี้ยว มีแต่ฟัน เมื่อกัดคน จะเป็นแต่รอยถลอกหรือรอยถากเท่านั้น จะไม่พบรอยเขี้ยว
           -
งูไม่มีพิษ เช่น งูก้นขบ งูแสงอาทิตย์ งูปี่แก้ว งูเขียวปากจิ้งจก งูลายสาบ งูลายสอ งูงอด งูเหลือม และงูหลาม (2 ชนิดหลังตัวใหญ่ สามารถรัดลำตัว ทำให้ตายได้) (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าถูกงูที่มีพิษต่อเลือดกัด) หรืออาจตัดถูกเส้นเอ็นหรือเส้นประสาท รวมทั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

ขั้นตอนการปฐมพยาบาล













วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

การปฐมพยาบาลเมื่อเป็นลม


การปฐมพยาบาลเมื่อเป็นลม

          การปฐมพยาบาลผู้ที่เป็นลมหรือหมดสติ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ต้องให้การแก้ไขให้ถูกวิธี จึงจะช่วยเหลือให้ฟื้นคืนสติได
การเป็นลมหรือหมดสติแบ่งประเภทออก ตามสาเหตุอาการและวิธีการปฐมพยาบาลได้ดังนี้

    การเป็นลมหน้าซีดหรือลมธรรมดา
สาเหตุ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำงานเหนื่อยมาก ร่างกายอ่อนเพลีย หิวจัด ตื่นเต้น ตกใจหรือเสียใจมาก
อาการ อ่อนเพลีย หน้าซีด หน้ามืด ใจสั่น ตาพร่าลาย เวียนศีรษะเหงื่อออกมากตามฝ่ามือฝ่าเท้า ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็วหมดสติ

การปฐมพยาบาล
1. เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่าลาย ให้รีบนั่ง อาจนั่งในท่าโน้มศีรษะลงมาอยู่ระหว่างเข่า และพยายามสูดหายใจเข้าลึก ๆ
2. กรณีพบผู้ที่เป็นลมหมดสติประเภทนี้ให้ช่วยเหลือ โดยจัดท่าให้ผู้เป็นลมนอนหงายราบ ให้ศีรษะต่ำอาจหาวัสดุรอง ยกปลายเท้าให้สูงประมาณ 1 ฟุต ให้หันหน้าตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง คลายเสื้อผ้าให้หลวม อย่าให้คนมุงดู เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทได้ดี ให้ดมแอมโมเนีย หรือยาดมใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดหน้าให้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาล

การเป็นลมหน้าแดงหรือลมแดด
สาเหตุ เกิดจากการที่อยู่กลางแดดนาน ๆ หรืออยู่ในสถานที่มีอากาศอบอ้าวหรือร้อนจัดนาน ๆ จนทำให้กลไกควบคุมความร้อนของร่างกายล้มเหลว
อาการ หน้าแดง ใจสั่น ตาพร่าลาย เวียนศีรษะเหงื่อออกมา ชีพจรเบาเร็วหมดสติ ปวดศีรษะ มึนงง กระสับกระส่าย คลื่นไส้อาเจียน ตัวร้อนจัด ฝ่ามืออาจไม่มีเหงื่อ ชีพจรเต้นเร็ว อาจหมดสติชั่ววูบ

การปฐมพยาบาล
1. เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่าลายให้รีบนั่งลงและพยายามสูดหายใจเข้าลึก ๆ
2. กรณีพบผู้เป็นลมหมดสติประเภทนี้ ให้ช่วยเหลือโดยนำผู้เป็นลมเข้าในที่ร่มหรือในที่มีอากาศเย็น จัดท่าให้     ผู้เป็นลมนอนหงายราบ คลายเสื้อผ้าให้หลวมอย่าให้คนมุงดู เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทได้ดี ใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดาหรือ   น้ำเย็น หรือน้ำแข็งเช็ดหน้า ตัว แขนและชา ให้เพื่อคลายความร้อนในร่างกายลง ถ้าผู้เป็นลมฟื้นคืนสติให้ดื่มน้ำผสมเกลือเล็กน้อย (ผสมน้ำ 1 แก้ว กับเกลือครึ่งช้อนกาแฟ) จิบที่ละน้อย บ่อย ๆ ครั้ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาล

การเป็นลมหน้าเขียว
สาเหตุ เกิดจากอากาศที่หายใจไม่เพียงพอหรือได้รับอากาศที่เป็นพิษหรือทางเดินหายใจถูกอุดตันจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น การสำลักเศษอาหารจากการอาเจียนเป็นต้น หรือจากภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรค เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ เป็นต้น
อาการ แน่นหน้าอก หายใจหอบ ถี่ ไอ เหงื่อออกมาก ผิวหนังเย็น ริมฝีปากและเล็บมือเขียวคล้ำ ชีพจรเบาเร็ว หมดสติ

การปฐมพยาบาล
1. นำสิ่งอุดตันทางเดินหายใจออกก่อนเพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวก โดยล้วงสิ่งอุดตันออกจากปากถ้ามองเห็น หรือใช้วิธีการตบบริเวณกลางหลัง ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง แรงๆ 2-3 ครั้ง เพื่อให้สิ่งที่อุดตันนั้นหลุดออก
2. ถ้าอากาศเป็นพิษ หรือมีอากาศไม่เพียงพอ ให้รีบนำผู้เป็นลมออกมาในที่มีอากาศบริสุทธิ์ และถ่ายเทได้ดีก่อน
3. เมื่อแก้ไขในข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว จึงให้การช่วยเหลือ โดยจัดท่าให้ผู้เป็นลมนอนหงายให้ศีรษะต่ำ อาจหาวัสดุรองยกปลายเท้าให้สูงประมาณ 1 ฟุต ให้หันหน้าตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง คลายเสื้อผ้าให้หลวม อย่าให้คนมุงดู เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทได้ดี ให้ดมแอมโมเนียหรือยาดม แล้วใช้ผ้าซุบน้ำเช็ดหน้า ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาล


คลิปการปฐมพยาบาลเบื้องต้น






วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การห้ามเลือด


การห้ามเลือด (Hemostasis)
การห้ามเลือดของร่างกาย เป็นขบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญของร่างกาย เพื่อควบคุมให้เลือดคงสภาพเป็นของเหลวไหลเวียนเป็นปกติอยู่ภายในหลอดเลือด และเปลี่ยนสภาพเป็นลิ่มเลือด ป้องกันการสูญเสียเลือดจากระบบไหลเวียนเลือดเมื่อเกิดการบาดเจ็บของหลอด เลือด โดยจะมีเกล็ดเลือดและไฟบรินมาปกคลุมบริเวณผนังหลอดเลือดที่เกิดการบาดเจ็บ เพื่อให้เลือดหยุดไหลและเริ่มต้นการซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเลือดออก (Hemorrhage) และ / หรือ การเกิดลิ่มเลือด (Thrombosis)
การแข็งตัว ของเลือดเป็นระบบที่มีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือด, ระบบเกล็ดเลือด และการสร้างลิ่มเลือด โดยเมื่อเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือด หลอดเลือดจะหดตัวอย่างรวดเร็วและทันที เพื่อจำกัดจำนวนเลือดไม่ให้สูญเสียออกไป นอกจากนั้นเซลล์เยื่อบุของหลอดเลือด (Endothelial cell) จะสร้างสารที่จำเป็นสำหรับการสร้างลิ่มเลือด และกระตุ้นเกล็ดเลือดให้มาเกาะกลุ่มกันบริเวณบาดแผล เรียกกลไกการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดว่า กลไกห้ามเลือดปฐมภูมิ (Primary Hemostasis) สำหรับกลไกห้ามเลือดทุติยภูมิ (Secondary Hemosatasis)จะ เกิดจากโปรตีนในเลือดที่เรียกว่า Coagulation factor (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ซึ่งผลที่ตามมาคือ ทำให้เกิดลิ่มเลือด และไฟบรินที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกลุ่มของเกล็ดเลือด


  การปฐมพยาบาลเบื้องต้นภาวะเลือดออกภายนอก ให้ห้ามเลือดดังนี้


1.ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดเล็ก ให้ล้างแผล แล้วใช้นิ้วมือที่สะอาดกดลงตรงปากแผล หรือจะใช้แผ่นผ้าสะอาดวางลงบนบาดแผล แล้วกดให้แน่นประมาณ 5-10 นาที จนเลือดหยุดแล้วจึงหยุดกดและใช้ผ้าพันไว้
2.ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดใหญ่ ให้ล้างแผลใช้แผ่นผ้าพับปิดปากแผล แล้วใช้ส้นมือหรือฝ่ามือกดให้แน่นประมาณ 10-15 นาที จนเลือดหยุด แล้วรีบส่งโรงพยาบาล.
ถ้าเลือดไม่หยุดไหล และแผลเกิดที่แขนหรือขา ให้ใช้ส้นมือกดที่หลอดเลือดแดงที่แขนพับ (ดูรูป) หรือที่ขาหนีบ (ดูรูป) จนเลือดพอไหลซึมๆ อย่ากดจนแขนหรือขาซีดหรือเขียว แล้วรีบส่งโรงพยาบาล


การกดแขนพับเพื่อห้ามเลือดที่ไหลออกจากบาดแผลใหญ่ใต้ศอกลงไป





    การกดขาหนีบเพื่อห้ามเลือดที่ขา

1.ถ้าเป็นบาดแผลที่อวัยวะถูกตัดขาด ให้ห้ามเลือดเช่นเดียวกับข้างต้นและนำอวัยวะส่วนที่ถูกตัดขาดใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดและแห้ง (ห้ามล้างอวัยวะที่ถูกตัดขาด) แล้วปิดปากถุงให้แน่น แล้วแช่ถุงนั้นในถุงพลาสติกหรือภาชนะที่ใหญ่กว่าที่มีน้ำผสมน้ำแข็งอยู่ แล้วนำส่งโรงพยาบาลพร้อมผู้ป่วย
2.ถ้าเลือดออกตามไรฟัน หรือเหงือก ให้อมน้ำเย็นหรือน้ำแข็งจนเลือดหยุด/ออกน้อยลง แต่ถ้าเลือดออกตรงที่ฟันหลุด/ถอนฟัน ให้ใช้ก้อนผ้า (ผ้าชิ้นเล็กๆ ม้วนเป็นก้อนกลม) วางลงตรงจุดที่เลือดออกแล้วกัดไว้ให้แน่นประมาณ 10-15 นาทีหรือนานกว่านั้น จนเลือดหยุด.
ถ้าเลือดไม่หยุดไหล หรือไหลออกมาใหม่หลังหยุดไปแล้ว ให้ทำแบบเดิมและไปพบหมอฟัน.
3.ถ้าเลือดออกจากจมูกหรือตกไปหลังคอหอย แล้วขากออกมาเป็นเลือดที่เรียกว่า เลือดกำเดาให้นั่งพัก ก้มศีรษะไปข้างหน้า บีบจมูก (ส่วนที่ไม่ใช่กระดูกแข็ง) ให้แน่นอย่างน้อย 5-10 นาที จนเลือดหยุด ระหว่างนั้นให้หายใจทางปาก ถ้าเลือดตกไปที่คอหอยข้างในให้บ้วนออกมา ถ้ามีน้ำแข็งหรือผ้าเย็นให้ใช้โปะบริเวณจมูก หลัง 5-10 นาที ค่อยคลายมือที่บีบจมูก ถ้ายังมีเลือดออกให้บีบใหม่ 10-15 นาที ถ้ายังมีเลือดออกอีกให้ไปที่โรงพยาบาล

 เลือดกำเดา






         http://www.youtube.com/watch?v=u1PqGw4OCbQ

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


กฎหมายเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

         ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือรวมทั้งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันทุกองค์การต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลผลประโยชน์ของผู้ที่นำข้อมูลมานำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทางคณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( National Information Technology Committee : NITC ) เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Law ) จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นบังคับทั้งหมด 6 ฉบับ ได้แก่
1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือทางอิเล็กทรอนิกส์
3. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
4. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6. กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78





 1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Transactions Law)เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์ รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
      2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law )เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
      3. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
       4. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย  ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
        5. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
       6. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน(National Information Infrastructure Law)เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันและนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้




ความปลอดภัยของข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

1. การให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์
การใช้งานระบบเครือขายผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย พร้อมทั้งการดูแลความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน รวมทั้งให้ผู้ใช้งานคำนึงถึงความสำคัญของข้อมูลสามารถป้องกันข้อมูลเบื้องต้นได้ วิธีการป้องกันข้อมูลในขั้นต้นที่พนักงานทุกคนควรทราบได้แก่
1 ) การเก็บรหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ผู้อื่นทราบ หรือจดไว้ในที่เปิดเผย
2 ) ไม่อนุญาตให้ผู้อื่นใช้เครื่องที่ตนใช้ประจำ ตั้งระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ต่างๆการใช้รหัสผ่านในการทำงาน
3 ) ขยันเปลี่ยนรหัสผ่านของตนเองบ่อยๆเพื่อป้องกันผู้อื่นจดจำรหัสผ่านในขณะที่พิมพ์รหัส
4 ) การสังเกตอาการแปลกๆที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเป็นสัญญาณของไวรัส เช่น การทำงานช้าลงของเครื่องคอมพิวเตอร์ การมีข้อความแปลกๆเกิดขึ้น การทำงานไม่เป็นปกติ
5 ) ให้ความรู้เกี่ยวกับการกู้ข้อมูลคืน หากข้อมูลมีความเสียหายเกิดขึ้น
6 ) มีการปรับปรุงโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ เช่นโปรแกรมตรวจไวรัส โปรแกรมตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบ เป็นต้น
2. การรักษาควาปลอดภัยของผู้ดูแลระบบ
ผู้ดูแลระบบควรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันเป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นบุคคลที่สำคัญในการป้องกันความปลอดภัย ข้อควรระวังเบื้องต้นของผู้ดูแลระบบ ได้แก่
1. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับลำดับความสำคัญของผู้ใช้ระบบ เพื่อที่จะกำหนดสิทธิ์ของการเข้าใช้งานได้
2. ไม่สมควนให้มีการอนุญาตผู้ใช้มากเกินไปอาจจะเป็นเหตุของเจาะระบบได้
3. การยกเลิกสิทธิ์ของผู้เข้าใช้ ควรทำการลบล้างสิทธิ์ออกจากโปรแกรมตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นขโมยสิทธิ์เข้าใช้ระบบ
3. การกำหนดสิทธิ์ของการเข้าใช้ระบบ
การกำหนดสิทธิ์ของการเข้าใช้งานระบบ เราสามารถกำหนดสิทธิ์ของบุคคลในแต่ละระดับเพื่อเข้าใช้งานระบบ โดยมีการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้งานดังนี้
1 ) รหัสผ่าน ( Password ) หมายถึง การกำหนดรหัสผ่านอาจจะอยู่ในรูปตัวเลขหรือตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ที่ต้องพิมพ์เพื่อให้ระบบตรวจสอบว่าเหมือนกับค่าที่เคยตั้งไว้หรือไม่ว่า
- ควรมีจำนวนหลักของข้อความไม่ต่ำกว่า 8 ตัว หากโปรแกรมหรือระบบนั้นสามารถรองรับได้
- ควรมีทั้งตัวอักษรและตัวเลข
- ไม่ควรเป็นคำ หรือข้อความใดข้อความหนึ่งหรือชื่อคน สัตว์เลี้ยง หรือสิ่งของที่ใกล้ตัว ควรเป็นข้อความที่ไม่มีความหมาย
- ไม่ควรใช้ฟังก์ชันช่วยจำ User name และ Password ของเว็บไซต์หรือโปรแกรมใดๆเพราะอาจเป็นสาเหตุให้ถูกขโมยได้ง่าย
2 ) วัตถุในการตรวจสอบ ( Possessed Objects ) คือ สิ่งของที่ผู้ใช้สามารถพกพาติดตัวไปเพื่อใช้ในการตรวจสอบ เช่น บัตรผ่าน อาจใช้ร่วมกับรหัสผ่านได้
3 ) การตรวจสอบทางชีวภาพ ( Biometric Device ) คือ การตรวจสอบลักษณะทางชีวภาพว่าตรงกับลักษณะทางชีวภาพที่บันทึกไว้หรือไม่ เช่นม่านตา เป็นต้น
4. การตรวจสอบการเข้าใช้ด้วยระบบฮาร์แวร์
โดยป้องกันการเข้ามาในระบบผ่านช่องหรือ Port ต่างๆ ได้แก่ Fire Wall ซึ่งก็คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบหรือปิดกั้นกันการเชื่อมต่อของข้อมูลจากภายนอกเครือข่ายกับภายในเครือข่าย ซึ่งจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลเท่านั้น ซึ่งในการรักษาความปลอดภัยสูง Firewall มี 3 ชนิดคือ
1 ) Screening Routers คือ อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบข้อมูลนั้นถูกส่งมาจากที่ใด และได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องหรือไม่ การตรวจสอบนั้นสามารถทำได้โดยการดู Address ที่มีมากับข้อมูล
2 ) Proxy Gateway คือ ตรวจสอบข้อมูลทั้ง Address และตัวข้อมูล ( Data ) ซึ่งให้ความปลอดภัยสูงกว่า Screening Routers โดยจะอนุญาตให้ข้อมูลหรือชุดคำสั่งที่ได้รับจากระบบเครือข่ายสามารถทำงานได้ตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
3 ) Guard คือ Proxy Firewall ซึ่งมีความสามารถในการักษาความปลอดภัยสูง ทำหน้าที่วิเคราะห์ Protocol ที่ผ่านเข้ามาหรือออกจากเครือข่าย แล้วสั่งงานตามที่ Protocol ตัวนั้นต้องการ

5. การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
โปรแกรมป้องกันไวรัสเป็นตัวค้นหาและกำจัดไวรัสออกจากหน่วยความจำและอุปกรณ์เก็บข้อมูล การทำงานของโปรแกรมป้องกันไวรัสคือ
1 ) การค้นหาสัญญาณของไวรัสเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่จัดเก็บไว้ ซึ่งผู้ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงโปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพราะมีไวรัสใหม่เกิดขึ้นทุกวัน โปรแกรมป้องกันไวรัสประเภทนี้จะค้นหาไวรัสประเภท Polymorphic virus ได้ยาก เพราะไวรัสประเภทนี้สามารถเปลี่ยนรูปแบบของตนเองไปตามโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูล
2 ) การตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแฟ้มข้อมูล โปรแกรมจะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลของแฟ้ม เช่น ขนาดของแฟ้มข้อมูล วันที่แฟ้มข้อมูลถูกสร้างหรือแก้ไข จากนั้นจะใช้ข้อมูลนี้ในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของแฟ้มข้อมูลในการเปิดใช้ครั้งต่อไป หากมีการเปลี่ยนแปลงแจหมายถึงสัญญาณไวรัส แต่จะมีไวรัสบางชนิดที่เรียกว่า Stealth virus สามารถที่จะรายงานขนาดและวันเวลาเดิมของไฟล์เพื่อหลบเลี่ยงการถูกตรวจในจับได้
3 ) การแยกแฟ้มข้อมูลที่ต้องสงสัยไว้ต่างหาก โปรแกรมค้นหาไวรัสบางประเภทสามารถแยกแฟ้มข้อมูลที่สงสัยว่าติดไวรัสไวต่างหากเพื่อป้องกันการแพร่ของไวรัสได้ เมื่อผู้ใช้ทำการตรวจสอบหรือกำจัดไวรัสออกไปแล้วจะสามารถใช้แฟ้มข้อมูลเหล่านั้นได้อีกครั้ง
4 ) การสร้าง Rescue Disk หรือแผ่นดิสก์ที่สะอาดปลอดภัย ในการทำงานควรมีการสร้างแผ่นดิสก์ที่ปลอดภัยจากไวรัสประเภท Boot Sector virus และสามารถค้นหา ซ่อมแซม แฟ้มข้อมูลที่เสียหายจากไวรัสได้
6. การตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครือข่าย
เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยระบบต่างๆเช่น
1 Kerboros เป็นระบบที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องในการเชื่อมต่อกันของระบบเครือข่าย โดยการตรวจสอบความถูกต้องระหว่าง Processor ที่ทำการติดต่อสื่อสารระหว่างหันโดยมีระบบบัตรผ่าน ซึ่งมีอายุเป็นกำหนดเวลาที่แน่นอน การส่งข้อมูลจะส่งในรูปแบบของการเข้ารหัส


 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

        การกระทำการใดๆที่มีกฎหมายให้รับรองลิขสิทธิ์ ถ้าเป็นงานที่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือสิ้นอายุการควบคุมตามกฎหมายแล้ว การกระทำต่องานนั้นย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพราะไม่ได้ไปจดลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ยังมี
1 ) งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์
2 ) ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
1. งานอันไม่อาจมีลิขสิทธิ์
งานที่อาจมีลิขสิทธิ์ มีดังนี้ คือ
1 ) ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างที่มีลักษณะข่าวสาร ซึ่งไม่ใช่งานวรรณคดีหรือวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ
2 ) รัฐธรรมนูญ กฎหมาย
3 ) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือท้องถิ่น
4 ) คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของราชการ
5 ) คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม 1) – 4 ) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
2. การกระทำที่ถือเป็นข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์
การกระทำกับงานอันมีลิขสิทธิ์ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีสิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินควร ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการกระทำต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ มีดังนี้
1 ) กระทำการเพื่อประโยชน์ในการศึกษามิใช่หากำไร
2 ) กระทำการเพื่อใช้งานส่วนตัว
3 ) กระทำการเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
4 ) กระทำการโดยรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น คัดลอกเลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควร จากงานอันมีลิขสิทธิ์ โดยการแสดงการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ย่อมไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์