วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด



การปฐมพยาบาล

          หลังถูกงูกัดจะต้องปฐมพยาบาลทันที ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงต้องช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที โดยคำแนะนำการปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูกัด ได้แก่
           1.
ใช้เชือก ผ้า หรือสายยางรัดแขนหรือขา ระหว่างแผลงูกัดกับหัวใจ (เหนือรอยเขี้ยว 2-4 นิ้วฟุต) เพื่อป้องกันมิให้พิษงูถูกดูดซึมเข้าร่างกายโดยเร็ว ให้รัดแน่นพอที่จะหยุดการไหลเวียนของเลือดดำ ควรคลายเชือกทุก ๆ 15 นาที โดยคลายนานครั้งละ 30-60 วินาที จนกว่าจะถึงสถานพยาบาล
           2.
เคลื่อนไหวแขน หรือขาส่วนที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ควรจัดตำแหน่งของส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ระดับต่ำกว่าหัวใจ (เช่น ห้อยเท้า หรือมือส่วนที่ถูกงูกัดลงต่ำ) ระหว่างเดินทางไปสถานพยาบาล อย่าให้ผู้ป่วยเดิน ให้นั่งรถหรือแคร่หาม ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของพิษงู
           3.
ควรดูให้รู้แน่ว่าเป็นงูอะไร แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรบอกให้คนอื่นที่อยู่ในที่เกิดเหตุช่วยตีงูให้ตาย และนำไปยังสถานพยาบาลด้วย (อย่าตีให้เละจนจำลักษณะไม่ได้)
           4.
อย่าให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาดองเหล้า หรือกินยากระตุ้นประสาท รวมทั้งชา กาแฟ
           5.
อย่าใช้ไฟ หรือเหล็กร้อนจี้ที่แผลงูกัด และอย่าใช้มีดกรีดแผลเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เลือดออกมาก
           6.
ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ (จากงูที่มีพิษต่อประสาท) ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจไปตลอดทาง จนกว่าจะถึงสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุด
           7.
สำหรับบาดแผลให้ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดบาดแผล ถ้ารู้สึกปวดแผล ให้กินพาราเซตามอล ห้ามให้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

เกร็ดความรู้

           ช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยถูกงูกัดชุกชุม คือ ฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน)  ผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด พบว่า ถูกงูกะปะกัดมากอันดับหนึ่ง (ภาคใต้) รองลงมาคือ งูเขียวหางไหม้ (ภาคกลาง) และงูเห่า (ภาคกลาง) ตามลำดับ

ความแตกต่างระหว่างงูพิษกับงูไม่มีพิษ

           -งูพิษ มีเขี้ยว 1 คู่ อยู่ตรงขากรรไกรบน เขี้ยวมีลักษณะเป็นรูกลวงคล้ายเข็มฉีดยา มีท่อติดต่อกับต่อมน้ำพิษ เมื่องูพิษกัดคนหรือสัตว์ ต่อมน้ำพิษจะปล่อยพิษไหลมาตามท่อ และออกทางปลายเขี้ยว คนที่ถูกงูพิษกัดจะพบรอยเขี้ยวเป็นจุด 2 จุด ตรงบริเวณที่ถูกกัด
           
-งูไม่มีพิษ จะไม่มีเขี้ยว มีแต่ฟัน เมื่อกัดคน จะเป็นแต่รอยถลอกหรือรอยถากเท่านั้น จะไม่พบรอยเขี้ยว
           -
งูไม่มีพิษ เช่น งูก้นขบ งูแสงอาทิตย์ งูปี่แก้ว งูเขียวปากจิ้งจก งูลายสาบ งูลายสอ งูงอด งูเหลือม และงูหลาม (2 ชนิดหลังตัวใหญ่ สามารถรัดลำตัว ทำให้ตายได้) (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าถูกงูที่มีพิษต่อเลือดกัด) หรืออาจตัดถูกเส้นเอ็นหรือเส้นประสาท รวมทั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

ขั้นตอนการปฐมพยาบาล













วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

การปฐมพยาบาลเมื่อเป็นลม


การปฐมพยาบาลเมื่อเป็นลม

          การปฐมพยาบาลผู้ที่เป็นลมหรือหมดสติ ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ต้องให้การแก้ไขให้ถูกวิธี จึงจะช่วยเหลือให้ฟื้นคืนสติได
การเป็นลมหรือหมดสติแบ่งประเภทออก ตามสาเหตุอาการและวิธีการปฐมพยาบาลได้ดังนี้

    การเป็นลมหน้าซีดหรือลมธรรมดา
สาเหตุ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ทำงานเหนื่อยมาก ร่างกายอ่อนเพลีย หิวจัด ตื่นเต้น ตกใจหรือเสียใจมาก
อาการ อ่อนเพลีย หน้าซีด หน้ามืด ใจสั่น ตาพร่าลาย เวียนศีรษะเหงื่อออกมากตามฝ่ามือฝ่าเท้า ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็วหมดสติ

การปฐมพยาบาล
1. เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่าลาย ให้รีบนั่ง อาจนั่งในท่าโน้มศีรษะลงมาอยู่ระหว่างเข่า และพยายามสูดหายใจเข้าลึก ๆ
2. กรณีพบผู้ที่เป็นลมหมดสติประเภทนี้ให้ช่วยเหลือ โดยจัดท่าให้ผู้เป็นลมนอนหงายราบ ให้ศีรษะต่ำอาจหาวัสดุรอง ยกปลายเท้าให้สูงประมาณ 1 ฟุต ให้หันหน้าตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง คลายเสื้อผ้าให้หลวม อย่าให้คนมุงดู เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทได้ดี ให้ดมแอมโมเนีย หรือยาดมใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดหน้าให้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาล

การเป็นลมหน้าแดงหรือลมแดด
สาเหตุ เกิดจากการที่อยู่กลางแดดนาน ๆ หรืออยู่ในสถานที่มีอากาศอบอ้าวหรือร้อนจัดนาน ๆ จนทำให้กลไกควบคุมความร้อนของร่างกายล้มเหลว
อาการ หน้าแดง ใจสั่น ตาพร่าลาย เวียนศีรษะเหงื่อออกมา ชีพจรเบาเร็วหมดสติ ปวดศีรษะ มึนงง กระสับกระส่าย คลื่นไส้อาเจียน ตัวร้อนจัด ฝ่ามืออาจไม่มีเหงื่อ ชีพจรเต้นเร็ว อาจหมดสติชั่ววูบ

การปฐมพยาบาล
1. เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาพร่าลายให้รีบนั่งลงและพยายามสูดหายใจเข้าลึก ๆ
2. กรณีพบผู้เป็นลมหมดสติประเภทนี้ ให้ช่วยเหลือโดยนำผู้เป็นลมเข้าในที่ร่มหรือในที่มีอากาศเย็น จัดท่าให้     ผู้เป็นลมนอนหงายราบ คลายเสื้อผ้าให้หลวมอย่าให้คนมุงดู เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทได้ดี ใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดาหรือ   น้ำเย็น หรือน้ำแข็งเช็ดหน้า ตัว แขนและชา ให้เพื่อคลายความร้อนในร่างกายลง ถ้าผู้เป็นลมฟื้นคืนสติให้ดื่มน้ำผสมเกลือเล็กน้อย (ผสมน้ำ 1 แก้ว กับเกลือครึ่งช้อนกาแฟ) จิบที่ละน้อย บ่อย ๆ ครั้ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาล

การเป็นลมหน้าเขียว
สาเหตุ เกิดจากอากาศที่หายใจไม่เพียงพอหรือได้รับอากาศที่เป็นพิษหรือทางเดินหายใจถูกอุดตันจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น การสำลักเศษอาหารจากการอาเจียนเป็นต้น หรือจากภาวการณ์เจ็บป่วยด้วยโรค เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ เป็นต้น
อาการ แน่นหน้าอก หายใจหอบ ถี่ ไอ เหงื่อออกมาก ผิวหนังเย็น ริมฝีปากและเล็บมือเขียวคล้ำ ชีพจรเบาเร็ว หมดสติ

การปฐมพยาบาล
1. นำสิ่งอุดตันทางเดินหายใจออกก่อนเพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวก โดยล้วงสิ่งอุดตันออกจากปากถ้ามองเห็น หรือใช้วิธีการตบบริเวณกลางหลัง ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง แรงๆ 2-3 ครั้ง เพื่อให้สิ่งที่อุดตันนั้นหลุดออก
2. ถ้าอากาศเป็นพิษ หรือมีอากาศไม่เพียงพอ ให้รีบนำผู้เป็นลมออกมาในที่มีอากาศบริสุทธิ์ และถ่ายเทได้ดีก่อน
3. เมื่อแก้ไขในข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว จึงให้การช่วยเหลือ โดยจัดท่าให้ผู้เป็นลมนอนหงายให้ศีรษะต่ำ อาจหาวัสดุรองยกปลายเท้าให้สูงประมาณ 1 ฟุต ให้หันหน้าตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง คลายเสื้อผ้าให้หลวม อย่าให้คนมุงดู เพราะต้องการให้อากาศถ่ายเทได้ดี ให้ดมแอมโมเนียหรือยาดม แล้วใช้ผ้าซุบน้ำเช็ดหน้า ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรนำส่งโรงพยาบาล


คลิปการปฐมพยาบาลเบื้องต้น






วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การห้ามเลือด


การห้ามเลือด (Hemostasis)
การห้ามเลือดของร่างกาย เป็นขบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญของร่างกาย เพื่อควบคุมให้เลือดคงสภาพเป็นของเหลวไหลเวียนเป็นปกติอยู่ภายในหลอดเลือด และเปลี่ยนสภาพเป็นลิ่มเลือด ป้องกันการสูญเสียเลือดจากระบบไหลเวียนเลือดเมื่อเกิดการบาดเจ็บของหลอด เลือด โดยจะมีเกล็ดเลือดและไฟบรินมาปกคลุมบริเวณผนังหลอดเลือดที่เกิดการบาดเจ็บ เพื่อให้เลือดหยุดไหลและเริ่มต้นการซ่อมแซมหลอดเลือดที่เสียหาย ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดจะนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเลือดออก (Hemorrhage) และ / หรือ การเกิดลิ่มเลือด (Thrombosis)
การแข็งตัว ของเลือดเป็นระบบที่มีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับระบบหลอดเลือด, ระบบเกล็ดเลือด และการสร้างลิ่มเลือด โดยเมื่อเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือด หลอดเลือดจะหดตัวอย่างรวดเร็วและทันที เพื่อจำกัดจำนวนเลือดไม่ให้สูญเสียออกไป นอกจากนั้นเซลล์เยื่อบุของหลอดเลือด (Endothelial cell) จะสร้างสารที่จำเป็นสำหรับการสร้างลิ่มเลือด และกระตุ้นเกล็ดเลือดให้มาเกาะกลุ่มกันบริเวณบาดแผล เรียกกลไกการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดว่า กลไกห้ามเลือดปฐมภูมิ (Primary Hemostasis) สำหรับกลไกห้ามเลือดทุติยภูมิ (Secondary Hemosatasis)จะ เกิดจากโปรตีนในเลือดที่เรียกว่า Coagulation factor (ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด) ซึ่งผลที่ตามมาคือ ทำให้เกิดลิ่มเลือด และไฟบรินที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกลุ่มของเกล็ดเลือด


  การปฐมพยาบาลเบื้องต้นภาวะเลือดออกภายนอก ให้ห้ามเลือดดังนี้


1.ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดเล็ก ให้ล้างแผล แล้วใช้นิ้วมือที่สะอาดกดลงตรงปากแผล หรือจะใช้แผ่นผ้าสะอาดวางลงบนบาดแผล แล้วกดให้แน่นประมาณ 5-10 นาที จนเลือดหยุดแล้วจึงหยุดกดและใช้ผ้าพันไว้
2.ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดใหญ่ ให้ล้างแผลใช้แผ่นผ้าพับปิดปากแผล แล้วใช้ส้นมือหรือฝ่ามือกดให้แน่นประมาณ 10-15 นาที จนเลือดหยุด แล้วรีบส่งโรงพยาบาล.
ถ้าเลือดไม่หยุดไหล และแผลเกิดที่แขนหรือขา ให้ใช้ส้นมือกดที่หลอดเลือดแดงที่แขนพับ (ดูรูป) หรือที่ขาหนีบ (ดูรูป) จนเลือดพอไหลซึมๆ อย่ากดจนแขนหรือขาซีดหรือเขียว แล้วรีบส่งโรงพยาบาล


การกดแขนพับเพื่อห้ามเลือดที่ไหลออกจากบาดแผลใหญ่ใต้ศอกลงไป





    การกดขาหนีบเพื่อห้ามเลือดที่ขา

1.ถ้าเป็นบาดแผลที่อวัยวะถูกตัดขาด ให้ห้ามเลือดเช่นเดียวกับข้างต้นและนำอวัยวะส่วนที่ถูกตัดขาดใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดและแห้ง (ห้ามล้างอวัยวะที่ถูกตัดขาด) แล้วปิดปากถุงให้แน่น แล้วแช่ถุงนั้นในถุงพลาสติกหรือภาชนะที่ใหญ่กว่าที่มีน้ำผสมน้ำแข็งอยู่ แล้วนำส่งโรงพยาบาลพร้อมผู้ป่วย
2.ถ้าเลือดออกตามไรฟัน หรือเหงือก ให้อมน้ำเย็นหรือน้ำแข็งจนเลือดหยุด/ออกน้อยลง แต่ถ้าเลือดออกตรงที่ฟันหลุด/ถอนฟัน ให้ใช้ก้อนผ้า (ผ้าชิ้นเล็กๆ ม้วนเป็นก้อนกลม) วางลงตรงจุดที่เลือดออกแล้วกัดไว้ให้แน่นประมาณ 10-15 นาทีหรือนานกว่านั้น จนเลือดหยุด.
ถ้าเลือดไม่หยุดไหล หรือไหลออกมาใหม่หลังหยุดไปแล้ว ให้ทำแบบเดิมและไปพบหมอฟัน.
3.ถ้าเลือดออกจากจมูกหรือตกไปหลังคอหอย แล้วขากออกมาเป็นเลือดที่เรียกว่า เลือดกำเดาให้นั่งพัก ก้มศีรษะไปข้างหน้า บีบจมูก (ส่วนที่ไม่ใช่กระดูกแข็ง) ให้แน่นอย่างน้อย 5-10 นาที จนเลือดหยุด ระหว่างนั้นให้หายใจทางปาก ถ้าเลือดตกไปที่คอหอยข้างในให้บ้วนออกมา ถ้ามีน้ำแข็งหรือผ้าเย็นให้ใช้โปะบริเวณจมูก หลัง 5-10 นาที ค่อยคลายมือที่บีบจมูก ถ้ายังมีเลือดออกให้บีบใหม่ 10-15 นาที ถ้ายังมีเลือดออกอีกให้ไปที่โรงพยาบาล

 เลือดกำเดา






         http://www.youtube.com/watch?v=u1PqGw4OCbQ